ใบหม่อน ใจไม่หม่อน
บทความสาระน่ารู้
แหล่งอ้างอิง
บทความสาระน่ารู้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากใบหม่อนมีสารในกลุ่ม Flavonoids โดยในขนาด 581.7 มก./กก. ของน้ำหนักสารสกัดแห้ง เมื่อนำมาทดสอบกับหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้มีระดับไขมันในเลือดสูง พบว่าระดับของ Triacylglycerol, Total Cholesterol, Low density lipoprotein cholesterol ลดจาก 540, 464 และ 200 มก./มล. ตามลำดับ และยังพบว่ามีประสิทธิภาพหลังจากให้กินเป็นเวลา 12 ชั่วโมง จะดีกว่าที่เวลา 6 ชั่วโมง ในขณะที่อัตราส่วนของ High density lipoprotein cholesterol ต่อ Triacylglycerol และ High density lipoprotein cholesterol ต่อ Low density lipoprotein cholesterol เพิ่มขึ้นจาก 0.33 และ 0.52 เป็น 0.42 และ 0.57 ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากใบหม่อนมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Neisseria gonorrheae, Pseudomonas aeruginosa, Proteus vulgaricus, Staphylococcus aureus, Streptococcus faecium และเชื้อราได้แก่ Aspergillus niger, Aspergillus tamari, Fusarium oxysporum, Peniciliumoxalicum ฤทธิ์ควบคุมภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกินหลังอาหาร สารสกัดใบหม่อนด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ disaccharidase ในลำไส้เล็ก ทั้งในหนูแรทปกติและหนูเบาหวาน โดยทำให้การย่อยสลายน้ำตาลเชิงซ้อนช้าลง และการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง เป็นผลให้ระดับกลูโคสหลังอาหารลดต่ำลง ใกล้เคียงกับการให้ยามาตรฐาน ในใบหม่อนมีสารแอลคาลอยด์ที่มีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) หรือที่เรียกว่า “Azasugars” อยู่หลายชนิด ซึ่งสาร DNJ จะพบมากที่สุด คิดเป็น 50% ของ Azasugars ที่พบในใบหม่อน สาร DNJ เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของใบหม่อน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จึงทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงได้
สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาถึงผลในการลดน้ำตาลของใบหม่อน เพื่อสนับสนุนในการที่จะนำมาใช้รักษาเบาหวาน พบว่ามีการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควร ทั้งในหลอดทดลอง สัตว์ทดลองและการศึกษาทางคลินิก ดังนี้
ฤทธิ์ยังยั้งเอนไซม์ α-glucosidase การทดสอบในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดน้ำจากใบหม่อน มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC₅₀) เท่ากับ 28.11 มคก./มล. สารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบ และสาร DNJ ที่แยกจากสารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase โดยสานสกัดจะมีฤทธิ์ดีกว่าสาร DNJ (ค่า IC₅₀) เท่ากับ 7.35 และ 9.39 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัด 50% เอทานอลจากใบหม่อนที่ปลูกในไทย จำนวน 35 พันธุ์ พบว่าฤทธิ์ในการยับยั้งจะสัมพันธ์กับปริมาณของสาร DNJ นั่นคือ พันธุ์ที่มีปริมาณสาร DNJ สูง จะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้สูงกว่าชนิดอื่น ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ปริมาณของ DNJ ของใบหม่อนพันธุ์ต่าง ๆ จะอยู่ระว่า 30 – 170 มก./กก. นน. แห้ง พันธุ์ที่มีปริมาณสาร DNJ สูง ได้แก่ พันธุ์คำ 60 และบุรีรัมย์ 51 โดยจะพบมากในยอดอ่อน รองลงมาคือ ใบอ่อน และใบแก่
การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัด 70% เอทานอล ส่วนสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์,เอทิลอะซีเตท,เอ็น-บิวทานอล และน้ำจากใบหม่อน ในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase พบว่าส่วนสกัดด้วยเอทิลอะซีเตท มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้ง โดยมีค่า IC₅₀ เท่ากับ 171 มคก./มล. เมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในสารสกัด พบว่ามีการพบสารใหม่ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase อยู่หลายสาร ได้แด่ (2R)/(2S)-euchrenone a₇ , chalaomorasin, moracin C, moracin และ D moracin N (ค่า IC₅₀เท่ากับ 6.28 ,2.59 , 4.04 , 2.54 และ 2.76 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ)
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ชาใบหม่อน (ใบหม่อนแห้ง 2.5 ก. แช่ในน้ำร้อน 1 ล. นาน 10 นาที) ขนาด 180 มล./วัน มีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหานด้วย streptozotocin ได้ดีกว่ายา glibenclamide (ยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด) ขนาด 10 มล./กก.เมื่อทดลองนาน 4 สัปดาห์ สารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบหม่อนแห้ง ขนาด 80 มก./กก. มีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocinได้ เมื่อป้อนหนูปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ด้วยสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบหน่อม (ใบหม่อนแห้ง 3153 ก. ต้มน้ำนาน 2 ชม.) ขนาด 150,300 และ 600 มก./กก. เป็นเวลา 12 วัน เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยา glibenclamide ขนาด 3 มก./กก. พบว่าสารสกัดที่ขนาด 300 และ 600 มก./กก. สามารถลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ แต่มีผลน้อยกว่ายา glibenclamide และไม่มีผลในหนูปกติ นอกจากนี้ยังมีผลปรับปรุงเซลล์ไอส์เลตของตับอ่อน (pancreatin islet cells) ที่ถูกทำลายของหนูที่เป็นเบาหวานให้มีลักษณะดีขึ้น สำหรับการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดในการลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน โดยใช้ oral glucose test พบว่าสารสกัดไม่มีผลลดน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลันทั้งในหนูที่เป็นเบาหวานและหนูปกติ
ฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมกลูโคส การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมกลูโคสของสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบ (ใบหม่อนแห้ง 80 ก. สกัดด้วยน้ำร้อนด้วยวิธีเขย่า (sonication) นาน 1 ชม. และสาร DNJ ในเซลล์มะเร็ง Caco-2 และในหนูแรท พบว่าสารสกัดมีผลยับยั้งการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ Caco-2 ขณะที่สาร DNJ ไม่มีผล สารสกัดในขนาดที่เทียบเท่ากับมีปริมาณสาร DNJ 3 มก./กก. มีผลลดน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในลำไส้ของหนูได้ดีกว่าสาร DNJ ขนาด 3 มก./กก. แต่ไม่มีผลยับยั้งการดูดซึมมอสโตส นอกจากนี้ยังพบว่าทั้งการทดลองในเซลล์และในหนู การให้สารสกัดก่อนให้สารละลายกลูโคส 15 หรือ 30 นาที จะมีผลลดการดูดซึมกลูโคสได้ดีกว่าการให้พร้อมกัน
การศึกษาทางคลินิก
มีการศึกษาทางคลินิกของใบหม่อนในการลดน้ำตาลในเลือด ทั้งในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและในคนปกติ ดังนี้
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 82 คน อายุระหว่าง 41 – 74 ปี ที่รับประทานชาชงซึ่งมีส่วนผสมของใบหม่อน ฝักถั่ว (Phaseolus vulgaris) และใบบิลเบอร์รี่ (Vaccinium myrtillus) ในขนาด 150 มล. วันละ 3 ครั้ง นาน 2 เดือน พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 74 ราย
เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 24 คน อายุ 40 – 60 ปี รับประทานแคปซูลผงใบหม่อน 500 มก. เท่ากับ 3 ก./วัน) เป็นเวลา 30 วันเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide ขนาด 5 มก./วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับผลใบหม่อนมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นแต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม นอกจากนี้ยังมีผลลดคอเลสเตอรอลรวมไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันอิสระ LDL และ VLDL และเพิ่มระดับของ HDL ด้วยขณะที่กลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในร่างกาย ยกเว้นระดับไตรกลีเซอไรด์ที่มีค่าลดลง
ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงปานกลาง จำนวน 8 คน และผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ จำนวน 5 คน เมื่อให้รับประทานผลใบหม่อน ขนาด 5.4 ก./วัน (วันละ 3 ครั้งๆ ละ 1.8 ก. ร่วมกับน้ำ) เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาล และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดลดลง และไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ ส่วนในคนปกติจะไม่มีผล
การศึกษาในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด 100 – 140 มก./ดล.) จำนวน 12 คน อายุเฉลี่ย 49.7±10.3 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดจากใบหม่อน ขนาด 1,2 และ 3 แคปซูล (ซึ่งมี DNJ เท่ากับ 3,6 และ 9 มก./แคปซูล) ก่อนรับประทานอาหาร (ข้าวต้ม 200 ก.) เป็นเวลา 15 นาทีและกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่าสารสกัดที่มี DNJ ขนาด 6 และ 9 มก. สามารถลดน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารและลดการหลั่งอินซูสินได้
คนปกติ เมื่อให้อาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน อายุเฉลี่ยน 25.3±0.7 ปี รับประทานผลสารสกัด 80% เอทานอลจากใบหม่อน ขนาด 0.4,0.8 และ 1.2 ก. (ปริมาณ DNJ เทียบเท่ากับ 6,12 และ 18 มก. ตามลำดับ) จากนั้นให้สารละลายซูโครส 50 ก. พบว่าสารสกัดใบหม่อน ขนาด 0.8 และ 1.2 ก. มีผลลดระดับน้ำตาลและการหลั่งอินซูลินในเลือดได้
การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 50 คน อายุ 20 – 50 ปี โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1.25, 2.5, และ 5 ก. (มี DNJ เท่ากับ 4.5 , 9 และ 18 มก.ตามลำดับ) พร้อมกับสารละลายมอลโตส 75 ก. และกลุ่มที่ได้รับสารสกัด ขนาด 5 ก. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนให้สารละลายมอลโตส พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบหม่อน ขนาด 2.5 และ 5 ก.จะมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โดยที่การได้รับสารสกัดก่อนหรือพร้อมกับอาหาร มีผลในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่แตกต่าง
การศึกษาทางพิษวิทยา
รายงานการวิจัยศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน จากใบหม่อนในสัตว์ทดลอง 2 สายพันธุ์ คือหนูถีบจักรและหนูขาว โดยให้หนูทั้งสองสายพันธุ์กินสารสกัดจากใบหม่อนในขนาดที่มากกว่า 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กก.) ไม่ทำให้สัตว์ทดลองตายในระหว่างการทดลองแต่พบอาการผิดปกติคือ การหายใจช้าลง ซึม และไม่เคลื่อนไหว แต่อาการดังกล่าวสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ภายใน 30 นาที นอกจากนี้ยังพบรายงานการวิจัยศึกษาความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรังในหนูขาว โดยให้หนูขาวกินสารสกัดใบหม่อนขนาด 1, 2 และ 3 กรัมต่อ น้ำหนักตัว (กก.) ต่อวันเป็นเวลา 60 วัน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและส่วนประกอบในเลือดเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม มีเพียงในขนาดยา 3 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กก.) ต่อวัน เพื่อให้หนูเพศเมีย มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และผลทางพยาธิวิทยา ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในทุกอวัยวะที่ทำการศึกษา ส่วนผลการศึกษาอีกฉบับหนึ่งระบุว่า
มีการศึกษาด้านความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดพืชทั้งต้นด้วย 50% เอทานอล เข้าช่องท้องหนูถีบจักร (หนูเม้าส์) ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งมีค่าสูงกว่า 1 ก./กก. น้ำหนักหนู ส่วนสารสกัดเปลือกรากด้วยบิวทานอลหรือน้ำ ไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร เมื่อให้กิน ฉีดเข้าทางช่องท้อง หรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำขนาด 10 ก./กก. 10 ก./กก. หรือ 5 ก./กก. น้ำหนักหนู ตามลำดับ แสดงว่ามีความเป็นพิษน้อยมาก และเมื่อฉีดสารสกัดใบหม่อน 10% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาด 60 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคนเป็นเวลาติดต่อกัน 21 วัน ไม่พบอาการพิษ ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไม่ทำลายเม็ดเลือด และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ และเมื่อให้ในขนาดสูงเกิน 250 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคน พบว่ามีพิษต่อตับ ไต และปอด สารสกัดใบหม่อน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา หรือทำชาสำหรับดื่ม ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ
- ไม่ควรใช้ใบหม่อนต่อเนื่อง และในปริมาณที่มาก ๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
- หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกายจากการใช้ใบหม่อนให้หยุดการใช้ทันที
- ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาเบาหวานในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase เช่น Acarbose ควรระมัดระวังในการใช้หม่อนร่วมกับยานี้ เนื่องจากหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้ง α-glucosidase ได้เช่นกัน ดังนั้นหม่อนอาจจะไปเสริมฤทธิ์ของยา ทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากได้
แหล่งอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
- เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. “หม่อน” หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. หน้า 194-195.
- อรัญญา ศรีนุศราคัม.ใบหม่อนกับโรคเบาหวาน.บทความ.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.ปีที่ 32. ฉบับที่ 1.ตุลาคม 2557.หน้า 3-9
- หม่อน.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=141
- ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์.“หม่อน (Mon)”.หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.หน้า 327.
- ผลหม่อน.กระดานถามตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://medpant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5369
- วิโรจน์ แก้วเรือง. คอลัมน์ บทความพิเศษ.หม่อนผลไม้เภสัชโภชนาภัณฑ์.นิตยสารหมอชาวบ้าน.ปีที่34. เล่มที่377.หน้า 30-35
- หม่อนฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=125
- วิทยา บุญวรพัฒน์.“หม่อน”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 618.
- ใบหม่อนฤทธิ์เย็นหรือร้อน.กระดานถามตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://medplat.maindd.ac.th/user/reply.asp?id=5680
- หม่อน/ใบหม่อน (mulberry)ประโยชน์และสรรพคุณหม่อน.พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://puechKaset.com
- Vichasilp C, Nakagawa K, Sookwong P, Higuchi O, Luemunkong S, Miyazawa T. Development of high 1-deoxynojirimycin (DNJ) content mulberry tea and use of response surface methodology to optimize tea-making conditions for highest DNJ extraction. LWT – Food Sci Technol 2012;45:226-32
- Yang Z, Wang Y, Wang Y, Zhang Y. Bioassay-guided screening and isolation of a- glucosidase and tyrosinase inhibitors from leaves of Morus alba. Food Chemistry 2012;131:617-25
- Pakistan Journal of Nutrition. (M.O. Omidiran, R.A. Baiyewu, I.T. Ademola, O.C. Fakorede, E.O. Toyinbo, O.J. Adewumi, E.A. Adekunle). “Phytochemical analysis, nutritional composition and antimicrobial activities of white mulberry (Morus alba)”. (2012), 11(5), 456-460.
- Yamada H, Oya I, Nagai T, Matsumoto T, Kiyohara H, Omura S. Screening of alphaglucosidase II inhibitor from Chinese herbs and its application on the quality control of mulberry bark. Shoyakugaku Zasshi 1993;47(1):47-55.
- Shivanna Y, Koteshwara R. Alpha glucosidase inhibitory activity of Morus alba. Pharmacologyonline 2009;1:404-9.
- Saenthaweesuk S, Thuppia A, Rabintossaporn P, Ingkaninan K, Sireeratawong S. The study of hypoglycemic effects of the Morus alba L. leave extract and histology of the pancreatic islet cells in diabetic and normal rats. Thammasat Med J 2009;9(2):148-55.
- Asano N, Yamashita T, Yasuda, K, et al. Polyhydroxylated alkaloids isolated from mulberry trees (Morus alba L.) and silkworms (Bombyx mori L.). J Agri Food Chem 2001;49:4208-13
- Chung HI, Kim J, Kim JY, Kwon O. Acute intake of mulberry leaf aqueous extract affects postprandial glucose response after maltose loading: Randomized doubleblind placebo-controlled pilot study. J Functional Foods 2013;5:1502-6.
- Tiangda C, Litthilert P, Phornchirasilp S, et al. Hypoglycemic activity of mulberry leaves tea in streptozotocin-induced diabetic rats. Proceedings of the fourth Indochina conference on pharmaceutical sciences, Vietnam, 10-13 Nov 2005: 398- 404
- Kwon HJ, Chung JY, Kim JY, Kwon O. Comparison of 1-deoxynojirimycin and aqueous mulberry leaf extract with emphasis on postprandial hypoglycemic Effects: In vivo and in vitro studies. J Agric Food Chem 2011;59:3014-9
- Kimura T, Nakagawa K, Kubota H, et al. Food-grade mulberry powder enriched with 1-deoxynojirimycin suppresses the elevation of postprandial blood glucose in humans. J Agric Food Chem 2007;55:5869-74.
- Watanabe K, Nakano R, Inoue M, et al. Basic and clinical study. Effects and toxicity studies of the mulberry leaf powder (Morus alba leaves) in volunteers with hyperglycemia and normoglycemia. Niigata Igakkai Zasshi 2007;121(4):191- 200.
- Ionescu-Tîrgovişte C, Popa E, Mirodon Z, Simionescu M, Mincu I. The effect of a plant mixture on the metabolic equilibrium in patients with type-2 diabetes mellitus. Rev Med Interna Neurol Psihiatr Neurochir Dermatovenerol Med Interna. 1989;41(2):185-92
- Asai A, Nakagawa K, Higuchi O, et al. Effect of mulberry leaf extract with enriched 1-deoxynojirimycin content on postprandial glycemic control in subjects with impaired glucose metabolism. J Diabetes Invest 2011;2(4):318-23.
- Andallu B, Suryakantham V, Srikanthi BL, Reddy GK. Effect of mulberry (Morus indica L.) therapy on plasma and erythrocyte membrane lipids in patients with type 2 diabetes. Clinica Chimica Acta 2001;314:47-53.
Arista
Matcha fiber
Prebiotic
Hungry free
Loss weight
Previous
Next
Arista
Matcha fiber
Prebiotic
Hungry free
Loss weight
“การกำจัดความหิวเป็นแนวทางการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด” งานวิจัยด้านสุขภาพ เราพบว่าพฤติกรรม การบริโภค มีผลกระทบโดยตรงต่อน้ำหนักของผู้ที่มีสภาวะน้ำหนักตัวเกินและสภาวะโรคอ้วนจะมีพฤติกรรมการบริโภคที่มีผลกระทบโดยตรง ซึ่งประกอบไปด้วย ความอยากอาหารที่มีมากจนเกินความพอดีและสภาวะความอยากอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
และในงานวิจัยนี้เองเราพบว่าคนที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่า มาตราฐานมักจะมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่หลากหลาย และในงานวิจัยเราให้ผู้อาสาสมัครทดลองรับประทาน Prebiotic ที่มีความพิเศษก่อนมื้ออาหารเข้าไปเราพบว่าพฤติกรรมของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมีการปรับเปลี่ยนไป คือมีความอยากอาหารน้อยลงจนสามารถควบคุมพฤติกรรมการทานและมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีไปสู่การลดน้ำหนักที่ยั่งยืนได้
อาหารเสริมเพื่อการควบคุมความอยากอาหารและปรับปรุงระบบขับถ่ายเพื่อจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนักสามารถขจัดอุปสรรคที่สำคัญในการลดน้ำหนัก โดยใช้นวัตกรรมของสารสกัดที่ได้รับงานวิจัยด้านสุขภาพในระดับนานาชาติ
ขนาดบรรจุ 150 กรัม ทานได้ 15 – 30 วัน
ราคาปกติ
890
บาท
โปรโมชั่น ราคาพิเศษ 690 บาท
ใช่ ฉันอยากดูแลตัวเอง
สั่งผ่านทาง
Shopee
สั่งผ่านทาง
Line my shop
ติดต่อเพื่อแชทสอบถามทาง
Line
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
สั่งผ่านทาง
website
สั่งผ่านทาง
Shopee
สั่งผ่านทาง
Line my shop
ติดต่อเพื่อแชทสอบถามทาง
Line
- บริษัท เอ็น. เค. รอยัล เซอร์วิส จำกัด
- : 063-946-6999
- : 089-966-2536
- nkroyalservices@gmail.com
- เมนู
-
หน้าแรก
-
ร้านค้าและโปรโมชั่น
-
สาระน่ารู้และงานวิจัย
- ช่องทางการจัดจำหน่าย
- แจ้งชำระเงิน
-
เกี่ยวกับเรา
-
ติดต่อเรา
-
นโยบายความเป็นส่วนตัว ข้อตกลงและเงื่อนไข
-
นโยบายการคืนผลิตภัณฑ์/คืนเงิน
- ผลิตภัณฑ์ของเรา
-
Arista Collagen SOD
-
Arista Wish
-
Arista Matcha Fiber
-
Arista M-Turmeric
-
Arista UCJ Plus
-
Arista Curmunar